รวมเรื่องคัดสรรจากข้อเขียนหลังมรณกรรมของนักประพันธ์ที่ยังมีชีวิตอยู่

"ถ้าบางคราวใครบางคนบังเอิญถูกทึกทักว่าเป็นของจริง
มันก็ไม่แน่เสมอไปว่าเขาจะใช่" 
- โรแบร์ท มูซิล
(ข้อเขียนหลังมรณกรรมของนักประพันธ์ที่ยังมีชีวิตอยู่)


ชื่อเรื่อง: ข้อเขียนหลังมรณกรรมของนักประพันธ์ที่ยังมีชีวิตอยู่
(Posthumous Papers of a Living Author)
ผู้เขียน: โรแบร์ท มูซิล
ผู้แปล: อัญชลี มณีโรจน์
สนพ. บทจร, พิมพ์ครั้งที่ 1, เมษายน 2557

แรกเริ่มเดิมทีเข้าใจว่าหนังสือเล่มนี้รวบรวมบทความ หรือบทร่างของเหล่านักประพันธ์ดังๆ ในอดีต
เอามาวิพากษ์ วิเคราะห์อะไรแบบนั้น
แต่ปรากฏว่าเข้าใจผิดไปเยอะเลยแหละ =//=

"ข้อเขียนหลังมรณกรรมของนักประพันธ์ที่ยังมีชีวิตอยู่
(Posthumous Papers of a Living Author)"
รวบรวมเรื่องสั้น และบทความของตัวผู้เขียนเอง
คือคุณโรแบร์ท มูซิล
นักเขียนชาวเยอรมันผู้นี้มีชีวิตอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
และมีเหตุต้องระหกระเหินอพยพหนีการจับกุมของนาซีด้วย
งานเขียนของแกก็กลายเป็นงานต้องห้ามหมดทุกชิ้น
เพราะถูกกล่าวหาว่าเขียน และมีแนวคิดต่อต้านนาซี
(อ่อ ภรรยาแกเป็นคนยิวด้วย)

ในเล่มจะมีเรื่องสั้น และบทความอยู่หลายชิ้น
ส่วนใหญ่จะเป็นบทสั้นๆ 1 - 2 หน้าจบ
แต่เรื่องสุดท้าย "แบล็กเบิร์ด" นั้นยาวหลายหน้า และเรารู้สึกว่ามันไม่สนุกเอาเสียเลย
ตัวละครที่ชื่อนายเอทู นั้นดูเหมือนจะเอาแต่พล่ามเรื่องตัวเองมากเกินไป
โดยไม่สนใจว่าผู้ฟังได้ถาม หรือต้องการรู้เรื่องราวส่วนนั้นหรือไม่
อารมณ์เหมือนฟังคนที่ชอบพูดถึงแต่เรื่องของตัวเองอ่ะ

เรื่องที่อ่านแล้วรู้สึกว่าน่าสนใจก็เห็นจะเป็นเรื่องที่เล่าถึงฝูงลิง
หลังอ่านจบและอ่านคำตามท้ายเล่ม
ก็เดาเอาว่าเรื่องนี้โรแบร์ทจะจงใจเขียนประชด และเหน็บนาซีหรือเปล่า
ผู้เป็นใหญ่มีอำนาจ รังแกผู้เล็กผู้น้อย
และเป็นไปได้ไหมว่าบรรดาลิงที่ถูกต้อนให้อยู่ในคูน้ำนั้นเป็นการเปรียบเทียบกับสถานะของผู้เขียนเอง
ซึ่งต้องลี้ภัยไปอยู่ต่างแดนในขณะนั้น

ข้อเขียนหลังมรณกรรมฯ นั้นดูเหมือนว่าโรแบร์ท มูซิลตั้งใจจะรวบรวมงาน หรือความคิดบางส่วน
เพื่อตีพิมพ์เป็นอนุสรณ์ หรือมรดกให้คนรุ่นหลังอะไรทำนองนั้นในขณะที่ตัวแกเองยังมีชีวิตอยู่
งงดีไหมล่ะ งานเขียนหลังมรณกรรม แต่เขียนตอนยังมีชีวิต
(แถมชื่อเรื่องภาษาไทยนี่ก็ยาวได้ใจจริงๆ)
โดยปกติ งานเขียนบางส่วนของนักประพันธ์หลายท่านถูกค้นพบหลังจากที่ท่านเหล่านั้นเสียชีวิตไปแล้ว
และสนพ. หรือผู้ครอบครองงานนั้นก็อาจนำมาตีพิมพ์ใหม่เพื่อเผยแพร่
ซึ่งการตีพิมพ์นั้นแน่นอนว่าไม่ได้รับความยินยอม หรือเห็นชอบจากผู้เขียนแน่ๆ
สำหรับโรแบร์ท เขาอยากให้มีการตีพิมพ์ก่อนที่เขาจะเสียชีวิต
และข้อเขียนหลังมรณกรรมฯ เล่มนี้ก็เป็นงานเขียนชิ้นสุดท้ายของเขา

การที่โรคหัวใจกำเริบครั้งแรก สงคราม และความมุ่งมั่นในการจะเขียนงานมหากาพย์เล่มสุดท้ายให้จบ
ข้อเขียนหลังมรณกรรมฯ นี้ก็เหมือนเป็นส่วนหนึ่งที่ไว้เก็บข้อมูล รองรับ
หรืออาจเป็นสมุดรวมไอเดียที่จะนำไปขยายต่อในหนังสือเล่มจบของชุด
แต่น่าเสียดายที่เขาไม่มีโอกาสจบมหากาพย์ชุดนั้น
หลังตีพิมพ์ข้อเขียนหลังมรณกรรมฯ โรแบร์ท มูซิลก็เสียชีวิตลงเสียก่อน

จากอัตชีวประวัติบางส่วนในท้ายเล่ม
ดูเหมือนว่าโรแบร์ท มูซิลจะเป็นคนหลงตัวเอง อีโก้จัด
และจากสภาพความเป็นอยู่ สงคราม และการที่งานเขียนถูกขึ้นบัญชีเป็นงานต้องห้าม
เหล่านี้ทั้งหมดน่าจะสะท้อน หรือมีอิทธิพลในงานเขียนของเขาอยู่มากโข
เนื้อหาค่อนข้างเครียด เหมือนดูหนังเงียบอ่ะ
ไม่มีเสียงอะไรเลย มีตัวละครไม่กี่ตัว เนื้อเรื่องดราม่าหนัก
นี่ถ้าเป็นเรื่องขนาดยาวคงปวดหัวกับการอ่านน่าดู
สรุปคืออ่านแล้วไม่ค่อยประทับใจนัก ไม่มีสเน่ห์ดึงดูดให้อ่านเท่าที่ควร
พออ่านได้เพลินๆ ยามว่าง

Comments

Popular posts from this blog

[Spoiler Alert] เจ้าชายน้อย (Le Petit Prince) สปอยล์แหลกตามคำขอของน้อง

เจ้าชายน้อย (Le Petit Prince) หนังสือดีๆ อีกเล่มที่อยากแนะนำให้อ่าน

ลำนำรักเทพสวรรค์ ภาค หนึ่งคำมั่น สัญญานิรันดร์ (Promise Me a Forever)