once ubon a time เมื่ออุบลฯ เป็นเมืองชิคๆ

once ubon a time

Benz Thanachart Siripatrachai



"Once Ubon a Time อุบลเป็นเมืองชิคๆ"
ผู้เขียน: ธนชาติ ศิริภัทราชัย
สนพ. แซลมอน, พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2558

          ตอนเห็นพี่เบ๊นซ์อัปรูปเซ็ต "ลุงชัยเป็นคนชิคๆ" ใน facebook นึกว่าเป็นแค่การถ่ายรูปเล่นๆ สนุกๆ ไม่คิดว่ารูปชุดนั้นจะกลายมาเป็นหนังสือ #Surprise1

          ตอนเห็นปกหนังสือ once ubon a time ครั้งแรกจากเพจสนพ. แซลมอน ก็นึกว่าเป็น photo book รวมภาพชิคๆ ของลุงชัย แต่หนังสือเล่มนี้มีดีมากกว่านั้น #Surprise2

          ตอนไปงานสัปดาห์หนังสือเมื่อ 27 มีนาคมที่ผ่านมา ก็ตั้งใจจะไปซื้อมาเก็บไว้ดูผลงานพี่เขา และแน่นอน อยากดูรูปลุงชัยแบบชิคๆ แต่...หนังสือยังพิมพ์ไม่เสร็จ #Surprise3

          ตัดสินใจพรีออเดอร์ไป เพราะเห็นว่าทางสนพ. จัดเป็น apologift เพื่อขอโทษที่หนังสือพิมพ์เสร็จช้า จึงจัดส่งให้ถึงบ้าน "ฟรี" แต่วันต่อมาก็ได้ข่าวว่า หนังสือพิมพ์เสร็จ และมีวางจำหน่ายในงานแล้ว #Surprise4

          ในขณะที่กำลังรู้สึกงอแงอยากได้หนังสือ และเซ็งที่รีบพรีออเดอร์ไปก่อน ก็เห็นพี่เบนซ์อัปรูปใน Instagram ว่าเซ็นหนังสือให้คนที่พรีออเดอร์ไว้เสร็จแล้ว หนังสือกำลังจะทยอยส่งออกไป กรี๊ดเลย #Surprise5

          เมื่อหนังสือมาถึงมือในที่สุดก็พบความหมายที่แท้จริงของ apologift ดังรูป #Surprise6

 

          ตามที่บอกข้างต้นว่าหนังสือเล่มนี้ไม่ใช่ photo book ธรรมดาอย่างที่ฉันคิดไว้ในตอนแรก แต่มันเป็นนิตยสารจำแลง หรือ magazine ชิคๆ ที่บอกเล่าเรื่องราวของผู้คนชิคๆ ในอุบลราชธานี เมืองที่ติดอันดับเมืองน่าอยู่อันดับที่ 25 ของนิตยสาร Monocle มาตลอดตั้งแต่ปี 2012 ตามที่กล่าวไว้ในหนังสือ ซึ่ง...มันไม่น่าจะจริงป่ะคะ พี่อำหนูใช่ไหม ฮ่าๆ

          หนังสือเล่มนี้จิกกัด เสียดสี ประชดประชัน ฮา และกวนตีนมาก แต่โคตรจะสร้างสรรค์เลยอ่ะ ที่น่าทึ่งคือ พี่ทำยังไงพวกคุณลุงคุณป้าถึงได้ยอมมาเล่นด้วยกับโปรเจคนี้? แถมดูเป็นธรรมชาติมากๆ ไหนจะลุงชัยที่อ่าน kinfolk แล้วมีน้องควายหน้าซื่อๆ อยู่ข้างๆ คุณยายรานที่เป็นผู้นำเทรนด์การผูกผ้ารอบต้นไม้ขอหวยแบบชิคๆ โดยยึดหลักตามนิตยสาร Color Index การเปลี่ยนภาพการรำแก้บนของนางรำแบบไทย เป็นการเต้นบัลเล่เพื่อแสดงความขอบคุณเทวดาที่ให้เลขเด็ด ฯลฯ ขุ่นพระ ถึงกับต้องเอามือทาบอกเบาๆ กับไอเดียบรรเจิดของขุ่นพี่ การนำเทรนด์ที่ต่างกันมาผสมรวมกันได้อย่างกลมกลืน อ่านๆ ไปแล้วก็เริ่มแยกแยะไม่ออกละ ว่าข้อมูลที่พี่เขาใส่มาในแต่ละคอลัมน์นี่มันเรื่องจริงเปล่าวะ 55 ภาพประกอบในเล่มก็สวย อ่านจบในเวลาอันรวดเร็ว

          ถ้าคุณๆ ได้อ่านเล่มนี้ก็น่าจะเก็ตได้ตั้งแต่บทบรรณาธิการของพี่เบ๊นซ์ ว่าประเด็นหลักที่พี่เขาหยิบยกมาเป็นหัวข้อของโปรเจคคือเรื่องอะไร เพราะมันเป็นประเด็นที่เป็นกระแสอยู่ช่วงหนึ่งที่เดียวในสังคม social network

          อ่านมาจนถึง Postface ของทางสนพ. ก็รู้สึกเห็นด้วย ถ้าหากทุกคนแสดงความเห็นต่อกระแสต่างๆ ไปในทางสร้างสรรค์ หรือประชดประชันแบบมีสไตล์แบบนายธนชาติ ศิริภัทราชัยล่ะก็ คงเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนุก และน่าสนใจไม่น้อย เขาทำให้คนอื่นหัวเราะ แต่เป็นการหัวเราะเพราะขำในสิ่งที่เขานำเสนอ ไม่ใช่การหัวเราะเยาะ หรือถากถางดูถูกใคร แทนที่จะดราม่า จิกกัด เสียดสีวิถีชีวิตหรือสไตล์ของคนอื่น ทำไมเราไม่ลุกขึ้นมาทำอะไรที่สร้างสรรค์ อาจไม่จำเป็นต้องถึงขั้นสร้างประโยชน์ให้สังคม แค่ไม่สร้างความเดือนร้อนให้ใคร หรือก้าวก่ายชีวิตคนอื่นก็น่าจะทำให้ประเด็นดราม่าในสังคมเราลดน้อยลงไปได้เยอะ

Comments

Popular posts from this blog

[Spoiler Alert] เจ้าชายน้อย (Le Petit Prince) สปอยล์แหลกตามคำขอของน้อง

มี บีฟอร์ ยู

จอมนางคู่บัลลังก์ - ศึกรบ ศึกรักระหว่างกุนซือหญิงลือนามกับอ๋องนักรบมากความสามารถแห่งแคว้นศัตรู