รวมเรื่องสั้น ชายที่คนรักจากไป (Men without Women)
"...แต่หนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องราวของโลกสามัญกว่านั้น ตรงตามตัวอักษรว่าเป็นเรื่องของ 'ชายที่คนรักจากไป' พวกเขาถูกผู้หญิงทอดทิ้ง หรือกำลังจะทอดทิ้งด้วยเหตุผลต่าง ๆ นานา" - ฮารูกิ มูราคามิ
(บทนำ)
"ชายที่คนรักจากไป (Men without Women - 女のいない男たち)"
ผู้เขียน: Haruki Murakami (村上 春樹)ผู้แปล: กนกวรรณ เกตุชัยมาศ (Drive My Car)
ปาลิดา พิมพะกร (Yesterday)
พรรษา หลำอุบล (อวัยวะเอกเทศ)
อานนท์ สันติวิสุทธิ์ (เซฮาราซาด)
มุทิตา พานิช (คิโนะ)
ปาวัน การสมใจ (แซมซ่าในห้วงรัก)
มัทนา จาตุรแสงไพโรจน์ (พวกผู้ชายที่คนรักจากไป)
สนพ. กำมะหยี่, พิมพ์ครั้งที่ 1, มีนาคม 2559
ทุกครั้งที่อ่านหนังสือของเฮียมูจบ ก็จะเกิดความรู้สึกอยากอ่านต่ออีกทุกครั้ง เป็น 1 ในนักเขียนคนโปรดที่เฝ้ารอผลงานเล่มถัดไปอย่างใจจดจ่อ ไม่ว่าจะเป็นงานที่เคยตีพิมพ์ไปเมื่อนานมาแล้ว แล้วนำกลับมาตีพิมพ์ใหม่ หรือผลงานเล่มใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยแปลเป็นไทยมาก่อน และ "ชายที่คนรักจากไป (Men without Women)" หรือ "Onna no inai otokotachi (女のいない男たち)" ในภาษาญี่ปุ่น คือผลงานรวมเรื่องสั้นเล่มใหม่ล่าสุดของเฮียที่ออกมาเมื่อปี 2014 หลังจากห่างหายจากการเขียนเรื่องสั้นมานานถึง 9 ปี ซึ่งทางสนพ. กำมะหยี่ซื้อลิขสิทธิ์มาแปลให้แฟน ๆ ชาวไทยของเฮียได้อ่าน และเพิ่งวางจำหน่ายในงานหนังสือรอบที่เพิ่งผ่านมานี้เอง (มีนาคม 2016)
ก่อนหน้านี้เคยได้หนังสือเล่มนี้ฉบับภาษาญี่ปุ่นมาเป็นของขวัญวันเกิด ตั้งใจว่าจะค่อย ๆ พยายามแกะแปลอ่านเองทีละนิด แต่ด้วยความขี้เกียจ บวกกับความรู้ทางภาษาญี่ปุ่น = 0 คือไม่เคยเรียนมาสักนิด แม้จะเคยพยายามเรียนเองอยู่พักนึง แต่ก็ไม่เคยไปไกลกว่าการท่องจำตัวอักษร จนแล้วจนรอดก็เลยไม่เคยหยิบหนังสือเล่มนั้นออกมาเปิดดูสักที แล้วก็เริ่มมีข่าวออกมาจากกำมะหยี่ว่ากำลังเตรียมการจะแปลและจัดพิมพ์เรื่องนี้ ก็เลยเกิดแรงบันดาลใจในการหยิบฉบับภาษาญี่ปุ่นออกมาเปิดดูและเริ่มแกะความจนได้ หลังจากพยายามกระดึ๊บ ๆ แปลวันละนิด ผ่านมาจนถึงฉบับแปลไทยเปิดให้ pre-order และได้หนังสือมาครอบครอง สุดท้ายก็ยังแปลไม่จบบทนำของเฮียสักที...
"ชายที่คนรักจากไป (Men without Women)" รวมเรื่องสั้น 6 เรื่องของบรรดาคุณผู้ชายที่อกหักรักคุด ถูกคนรัก หรือคนเคยรักทอดทิ้งไปไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง 4 เรื่องในนั้นเป็นเรื่องของความสัมพันธ์แบบลอบคบชู้ รักสามเศร้า เราสามคน (หรือมากกว่านั้น) จัดว่าเป็นงานอ่านง่ายอีกชิ้นของเฮีย พล็อตเรียบง่าย ไม่มีอะไรพิสดารมากเกิน ไม่ออกแนว dark หม่นเครียดจนกดดัน แถมมีความเป็นพุทธแทรกเข้ามาในเรื่องเด่นชัดอยู่ เรายกให้เป็นรวมเรื่องสั้นที่เราชอบมากที่สุดในตอนนี้ อ่านแล้วชอบมากกกกก (ก่อนหน้านี้ชอบทีวีพีเพิล กับวันเหมาะเจาะสำหรับจิงโจ้) โดยเฉพาะเรื่องแรก Drive My Car (แปลโดยคุณ กนกวรรณ เกตุชัยมาศ) เป็นเรื่องที่อ่านแล้วได้คิดอะไรเยอะดี กล่าวถึงความสัมพันธ์ของคนได้อย่างน่าสนใจ และยังใส่ประเด็นการสำรวจตัวตนเข้ามาอย่างเหมาะเจาะ อ่านแล้วรู้สึกตื่นเต้นกับเนื้อหาในเรื่องอย่างที่ไม่ค่อยเป็นเวลาอ่านเรื่องสั้น
"...สุดท้ายแล้ว สิ่งที่เราต้องทำจริง ๆ น่าจะเป็นการค่อย ๆ ประนีประนอมกับหัวใจตัวเองอย่างตรงไปตรงมาให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ มากกว่าหรือเปล่าครับ หากปรารถนาที่จะมองคนอื่นจริง ๆ ก็ไม่มีทางอื่น นอกจากต้องมองตัวเองตรง ๆ ให้ลึกซึ้งก่อน ผมคิดอย่างนั้นครับ" - ทะคะสุกิ (น. 52, Drive My Car)
เวลาเจ็บปวด เรามักจะคิดแค่ว่า เมื่อไรความเจ็บปวดเหล่านั้นจะจบลงสักที ใช่หรือเปล่า? คนเราบ่อยครั้งก็หาทางหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดจากเรื่องหนึ่ง ไปหาเรื่องที่ทำให้เจ็บปวดมากกว่า บางคนหมกมุ่นครุ่นคิดหาเหตุผลว่า "ทำไม" บางคนเพิกเฉยมันไปไม่ยอมคิดถึงมัน หรือบางคนอาจจะเลือกหนทางที่ดูสิ้นหวังเพียงเพราะไม่เหลือเรี่ยวแรงใด ๆ ในการบังคับตัวเองให้ลุกขึ้นสู้ หากแต่สิ่งที่ควรทำจริง ๆ คือการเผชิญหน้ากับความเจ็บปวดนั้นตรง ๆ แล้วก้าวข้ามผ่านมันไปกลับเป็นทางเลือกที่ไม่ได้รับความนิยมมากนัก หรือบางที ณ ตอนนั้นเราอาจจะยังไม่ยอมรับรู้ว่ามีหนทางนี้ ไม่ก็มองว่ามันเจ็บปวดเกินไป
กับเรื่องบางเรื่องมันก็เรียบง่ายของมันอย่างนั้นเอง ไม่จำเป็นต้องไปหาเหตุผลให้มันวุ่นวาย ปวดหมองเปล่า ๆ เพราะเบื้องหลังอาจจะไม่มีอะไรเลยให้เราค้นหา เขาทิ้งเราไปเพราะอะไร ทรยศเราด้วยเหตุใด บางทีมันก็อาจจะง่าย ๆ แค่ว่า เขาไม่รักเราแล้ว เหมือนอย่างที่มิซากิบอกกับคะฟุคุผู้เฝ้าเพียรสงสัยว่าเหตุใดภรรยาของเขาจึงไปเป็นชู้กับนักแสดงรุ่นน้องคนนั้น ทั้ง ๆ ที่เขาก็ดูธรรมดา ไม่ได้มีเสน่ห์น่าสนใจอะไรปานนั้นตามความเห็นของคะฟุคุใน Drive My Car ว่า "เรื่องแบบนี้ก็เหมือนกับความป่วยไข้นั่นละค่ะ คุณคะฟุคุ ไม่ใช่เรื่องที่คิดแล้วจะได้อะไรขึ้นมา ไม่ว่าการที่พ่อฉันทิ้งพวกเราไป หรือที่แม่ทำร้ายฉันอย่างสาหัส เรื่องพวกนี้ล้วนเป็นฝีมือของความป่วยไข้ทั้งนั้น ใช้หัวสมองคิดไปก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา เราทำอะไรไม่ได้หรอกค่ะ นอกจากเผชิญหน้ากับมันในแบบของเรา ยอมรับมันให้ได้ และเดินหน้าต่อไป" (น. 60) ซึ่งมิซากิคิดว่าอาจเป็นเพราะชายคนนั้นไม่มีเสน่ห์ดึงดูดใจภรรยาของเขานั่นแหละ เธอจึงเลือกที่จะหลับนอนกับชายคนนั้น หยุดถามหยุดคิดว่าทำไม อาจเป็นการเริ่มต้นที่ดีในการก้าวต่อไป
กับเรื่องบางเรื่องมันก็เรียบง่ายของมันอย่างนั้นเอง ไม่จำเป็นต้องไปหาเหตุผลให้มันวุ่นวาย ปวดหมองเปล่า ๆ เพราะเบื้องหลังอาจจะไม่มีอะไรเลยให้เราค้นหา เขาทิ้งเราไปเพราะอะไร ทรยศเราด้วยเหตุใด บางทีมันก็อาจจะง่าย ๆ แค่ว่า เขาไม่รักเราแล้ว เหมือนอย่างที่มิซากิบอกกับคะฟุคุผู้เฝ้าเพียรสงสัยว่าเหตุใดภรรยาของเขาจึงไปเป็นชู้กับนักแสดงรุ่นน้องคนนั้น ทั้ง ๆ ที่เขาก็ดูธรรมดา ไม่ได้มีเสน่ห์น่าสนใจอะไรปานนั้นตามความเห็นของคะฟุคุใน Drive My Car ว่า "เรื่องแบบนี้ก็เหมือนกับความป่วยไข้นั่นละค่ะ คุณคะฟุคุ ไม่ใช่เรื่องที่คิดแล้วจะได้อะไรขึ้นมา ไม่ว่าการที่พ่อฉันทิ้งพวกเราไป หรือที่แม่ทำร้ายฉันอย่างสาหัส เรื่องพวกนี้ล้วนเป็นฝีมือของความป่วยไข้ทั้งนั้น ใช้หัวสมองคิดไปก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา เราทำอะไรไม่ได้หรอกค่ะ นอกจากเผชิญหน้ากับมันในแบบของเรา ยอมรับมันให้ได้ และเดินหน้าต่อไป" (น. 60) ซึ่งมิซากิคิดว่าอาจเป็นเพราะชายคนนั้นไม่มีเสน่ห์ดึงดูดใจภรรยาของเขานั่นแหละ เธอจึงเลือกที่จะหลับนอนกับชายคนนั้น หยุดถามหยุดคิดว่าทำไม อาจเป็นการเริ่มต้นที่ดีในการก้าวต่อไป
สำหรับคนที่ไม่เคยอ่านงานของเฮียมู หรือฮารูกิ มูราคามิมาก่อน แนวทางงานของแกออกจะแปลกแหวกแนวนักเขียนญี่ปุ่นคนอื่น ๆ อยู่มากโข เมื่อก่อนแกไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับในญี่ปุ่นสักเท่าไร แต่ไปดังมาก ๆ ในต่างประเทศ จุดเด่นหลัก ๆ ที่มักพบในงานของเฮียอยู่เสมอคือ รักคุด ความเหงา เพลงแจ๊ส เหล้า อาหาร ความแปลกพิสดาร และ sex
เท่าที่เคยได้ยินมา (ไม่มีแหล่งอ้างอิงชัดเจน) กระแสของกลุ่มคนที่อ่านงานของเฮียมีอยู่สองกระแส คือไม่ชอบ ก็เกลียดไปเลย เราคือคนที่อยู่ในกระแสแรก อ่านแล้วชอบ งานของเฮียมันมีความเหงาในระดับหลุมดำที่ดูดกลืนคนอ่านให้จมลงไปในความกลวงเปล่าในใจของตัวละคร คือตรึงเราอยู่หมัด แต่บางเรื่องก็เครียดเกินไป อย่าง "บันทึกนกไขลาน (The Wind-Up Bird Chronicle)" นี่เครียดมาก กว่าจะอ่านจบใช้เวลานานทีเดียว อ่านจบแล้วยังเครียดค้างอยู่พักใหญ่ อะไรมันจะกดดันกันปานนั้นก็ไม่รู้ หรืออย่าง "ด้วยรัก, ความตาย, และหัวใจสลาย (Norwegian Wood)" นี่ก็เครียด แต่น้อยกว่าบันทึกนกไขลาน อ่านแล้วชอบมากกว่าด้วย (แต่มีคนรู้จักบางคนอ่านเรื่องนี้เป็นเรื่องแรก แล้วเกลียดเฮียไปเลย 555) ถ้าหากอยากจะเริ่มอ่านงานของเฮียล่ะก็ เริ่มจากพวกเรื่องสั้น อย่าง "ชายที่คนรักจากไป (Men without Women)" นี้ก่อนเลยก็ได้ ถ้าอ่านแล้วชอบค่อยขยับไปอ่านพวกเรื่องยาว อย่าง "1Q84" เรื่องนี้แนะนำเลย เป็นไตรภาค 3 เล่มจบ (แปลไทย) เราชอบมาก เป็นเรื่องของการตามหากันและกันของชายหนุ่ม และหญิงสาวในโลกคู่ขนาน หรือ "แดนฝันปลายขอบฟ้า (Hard-Boiled Wonderland and the End of the World)" นี่ก็สนุกค่ะ
"...และหากคุณได้กลายเป็นพวกผู้ชายที่คนรักจากไปสักครั้งแล้ว กลิ่นอายแห่งความโดดเดี่ยวนั้นก็จะซึมลึกเข้าไปในร่างกายของคุณประหนึ่งคราบไวน์แดงที่ทำหกบนพรมโทนสีอ่อน..." - ผม (น. 287, พวกผู้ชายที่คนรักจากไป)
เพิ่มเติม:รวมผลงานชุดฮารูกิ มูราคามิ ที่ทางกำมะหยี่จัดพิมพ์
blog ที่เคยเขียนถึงงานของเฮีย:
Comments
Post a Comment